รายวิชา 8: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอัจฉริยะ
วัตถุประสงค์ของรายวิชา:
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านวิทยาการสมัยใหม่เกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีในการตัดสินใจที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจริงด้วยวิธีการ Agile และสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 4.0
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการในการวิเคราะห์ ออกแบบ การนำไปใช้งาน และการตรวจสอบระบบสนับสนุนการตัดสินใจอัจฉริยะ (IDSS) การบูรณาการแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์และแบบจำลองทางสถิติ โดยเน้นที่จะค้นหาความรู้จากข้อมูลดิบ รายวิชานี้ประกอบไปด้วยแนวคิดและการพัฒนาระบบ IDSS เครื่องมือโปรแกรมสำหรับการพัฒนาระบบ IDSS และการประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตดิจิทัล
ผลลัพธ์ของรายวิชา:
นักเรียนเมื่อจบหลักสูตรนี้จะสามารถ:
- อธิบายแนวคิดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจในบริบทของระบบที่สามารถตอบโต้กับผู้ใช้งาน
- อธิบายผลกระทบด้านต่าง ๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีต่ออุตสาหกรรม 4.0
- ประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ระบบกฎเกณฑ์ (Rule-based Systems) เป็นต้น และทวนสอบวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของอุตสาหกรรม
- ประเมินความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจในรูปแบบต่าง ๆ
- ออกแบบระบบฐานความรู้สำหรับกระบวนการผลิตแบบชาญฉลาด
รายวิชาเรียนก่อน : ไม่มี
แผนการเรียน:
สัปดาห์ | หัวข้อ | ปฎิบัติการ | เอกสารประกอบการเรียน | เอกสารประกอบการสอน | หมายเหตุ |
1. แนวคิดและการพัฒนา IDSS | |||||
1 | ความจำเป็นของเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ | MSIE-08-L-M1S1-TH | |||
2 | แบบจำลองกระบวนการตัดสินใจ | MSIE-08-L-M1S2-TH | |||
3 | โครงสร้าง การวิเคราะห์ การออกแบบ การระบุความต้องการ และ การตรวจสอบระบบ IDSS | MSIE-08-L-M1S3-TH | |||
4 | ผลกระทบของ IDSS ต่อสมรรถนะอุตสาหกรรม ผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ของ IDSS ต่ออุตสาหกรรม |
MSIE-08-L-M1S4-TH | |||
5 | วิธีการอไจล์สำหรับการผลิตแบบชาญฉลาด | MSIE-08-L-M1S5-TH | |||
2. เครื่องมือโปรแกรมสำหรับการพัฒนาระบบ IDSS | |||||
6 | กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ | MSIE-08-L-M2S1-TH | |||
7 | โปรแกรม R | MSIE-08-L-M2S2-TH | |||
8 | โปรแกรม RapidMiner | MSIE-08-L-M2S3-TH | |||
9 | โปรแกรม WEKA | MSIE-08-L-M2S4-TH | |||
10 | การเรียนรู้เชิงลึก | MSIE-08-L-M2S5-TH | |||
3. IDSS สำหรับระบบการผลิตดิจิทัล | |||||
11 | ปัญญาประดิษฐ์และระบบการตัดสินใจ การการแสวงหาความรู้และการแทนความรู้ |
MSIE-08-L-M3S1-TH | |||
12 | แบบจำลองสำหรับการทำนาย | MSIE-08-L-M3S2-TH | |||
13 | แบบจำลองความไม่แน่นอน | MSIE-08-L-M3S3-TH | |||
14 | การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม | MSIE-08-L-M3S4-TH | |||
15 | ระบบฐานความรู้สำหรับการผลิตแบบชาญฉลาด | MSIE-08-L-M3S5-TH |
ปฏิบัติการ:
- การวิเคราะห์ความจำเป็นของเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ
- การสร้างแบบจำลองกระบวนการตัดสินใจอัจฉริยะ
- การออกแบบและตรวจสอบระบบ IDSS
- ผลกระทบของ IDSS ที่มีต่ออุตสาหกรรม
- การสร้างระบบการผลิตชาญฉลาดด้วยวิธีการอไจล์
- การพัฒนาระบบ IDSS ด้วย AHP
- การวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายวัตถุประสงค์ด้วยโปรแกรม R
- RapidMiner และ เหมืองข้อมูล
- การจำแนกกลุ่มอย่างง่ายด้วยโปรแกรม WEKA
- การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการผลิตแบบชาญฉลาด
- การการแสวงหาความรู้และการแทนความรู้
- การร่วมแบบจำลองสำหรับการทำนายเข้ากับระบบ IDSS
- การร่วมแบบจำลองความไม่แน่นอนเข้ากับระบบ IDSS
- การประยุกต์ใช้ IDSS กับสถานการณ์จริง
- การสร้างระบบฐานความรู้สำหรับการผลิตแบบชาญฉลาด
แหล่งการเรียนรู้
หนังสือคู่มือ: ไม่มีหนังสือเรียนที่กำหนด แต่จะมีบันทึกประจำชั้นและเอกสารประกอบคำบรรยาย
หนังสืออ้างอิง:
- Gupta, J.N.D., Forgionne, G.A., and Manuel, M.T., Intelligent Decision-making Support Systems: Foundations, Applications and Challenges, Springer, 2006.
- Iantovics, B., and Kountchev, R., Advanced Intelligent Computational Technologies and Decision Support Systems, Springer, 2014
- Kumer. K., Zindani, D. and Davim, J.P., Digital Manufacturing and Assembly Systems in Industry 4.0, CRC Press, 2019
- Tweedale, J.W., Neves-Silva, R., Jain, L.C., Phillips-Wren, G., Watada, J., and Howlett, R.J., Intelligent Decision Technology Support in Practice, Springer, 2016
- Valencia-Garcia, R, Paredes-Valverde, M.A., Salas-Zarate, M.P. and Alor-Hernandez, Giner., Exploring Intelligent Decision Support Systems, Springer, 2018
วารสารวิชาการ และ นิตยสาร:
- Decision Support Systems, Elsevier
- Journal of Decision Systems, Taylor & Francis LTD
- International Journal of Decision Support System Technology, IGI Global
- International Journal of Intelligent Systems, Wiley-Blackwell
- IEEE Intelligent Systems, IEEE
- Expert Systems, Wiley
วิธีการเรียนการสอน
การสอนเน้นการมีส่วนร่วม ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียนผ่านการพูดคุยและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น วิธีการเรียนรู้ประกอบไปด้วย กรณีศึกษา การอภิปรายกลุ่ม งานที่ได้รับมอบหมายรายบุคคล แบบฝึกหัดจากปัญหาจริง การจำลองแบบ การลงพื้นที่ และโครงงานกลุ่ม
สัดส่วนเวลาการเรียนการสอน:
บรรยาย: 15 ชั่วโมง
ปฏิบัติการ: 60 ชั่วโมง
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง/โครงงานกลุ่ม: 75 ชั่วโมง
การประเมินผล:
เกรดสุดท้ายจะคำนวณตามการกระจายน้ำหนักดังต่อไปนี้:
- กรณีศึกษา 20%
- แบบฝึกหัดจากปัญหาจริง 10%
- การมอบหมายงาน 10%
- แฟ้มสะสมงาน 5%
- การประเมินโดยเพื่อน 5%
- การนำเสนองาน 10%
- โครงงานกลุ่ม 20%
- สอบข้อเขียน 20%
ผู้พัฒนารายวิชา: Suriya Jirasatitsin (suriya.j@psu.ac.th, PSU), Warapoj Meethom (warapoj.m@eng.kmutnb.ac.th, KMUTNB) and Thitipong Jamrus (thitja@kku.ac.th, KKU)